ข้อมูลเทศบาล
เพราะหน้ากากอนามัยใช้แล้วอาจมีสารคัดหลั่งอย่างน้ำลาย น้ำมูก หรือเสมหะปนเปื้อนอยู่ ดังนั้นจึงถือเป็นขยะติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อโรค เช่น เชื้อก่อโรคโควิด 19 ให้คนที่สัมผัสหน้ากากอนามัยใช้แล้วได้ ดังนั้นเพื่อให้หน้ากากอนามัย ของเราไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น โดยเฉพาะพนักงานเก็บขยะที่เสี่ยงต่อโรค COVID 19 เราก็ควรเรียนรู้การทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
วิธีทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง
1. ล้างมือให้สะอาดก่อนถอดหน้ากากอนามัย
2. ใช้มือทั้งสองข้างจับที่สายรัด แล้วดึงหน้ากากอนามัย โดยดันออกไปด้านหน้าเป็นแนวตรง ไม่ใช้มือสัมผัสด้านหน้าของหน้ากากอนามัย
3. จับที่ขอบหน้ากากแล้วพับครึ่ง เก็บส่วนที่สัมผัสร่างกายให้อยู่ด้านใน
4. พับครึ่งอีก 2 ทบ ให้เชือกทั้ง 2 ฝั่งอยู่ด้านเดียวกัน แล้วใช้เชือกพันรอบหน้ากาก มัดให้แน่น
5. ใส่ถุงรองรับ (แยกจากขยะชิ้นอื่น) แล้วมัดปากถุงให้แน่น
6. ทิ้งหน้ากากอนามัยลงถังขยะที่มีฝาปิด
7. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือโดยทันที
ทั้งนี้สำหรับหน้ากากอนามัยของผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ เช่น คนที่ต้องกักตัวดูอาการ ควรทำการฆ่าเชื้อเบื้องต้นด้วยการราดน้ำยาฟอกขาว (โซเดียมไฮเปอร์คลอไรด์ 5%) ก่อนทิ้งหน้ากากอนามัยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น แล้วค่อยนำไปทิ้งในถังขยะติดเชื้อ (ถังสีแดง) หรือในกรณีที่ไม่มีถังแยกสำหรับขยะติดเชื้อ ให้ทิ้งรวมในถังขยะทั่วไป แต่เขียนบนถุงให้ชัดเจนว่า เป็นขยะติดเชื้อ หรือหน้ากากอนามัยใช้แล้ว
ทิ้งหน้ากากอนามัยใส่ขวดน้ำ ขอเตือนว่าอย่าทำ !
ตามสื่อโซเชียลมีเดีย มีการแนะนำให้ทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วลงในขวดน้ำพลาสติก ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัยเลย เพราะขวดน้ำพลาสติกเป็นขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ โดยนำขวดเปล่าไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล และหากจะนำขวดเปล่าไปรีไซเคิลก็ต้องดึงเอาขยะในขวดออกให้หมด โอกาสที่ทั้งคนเก็บของเก่า พนักงานเก็บขยะจะติดโควิด-19 จากหน้ากากอนามัยในขวดนั้นก็ง่ายขึ้น นอกจากนี้ขวดน้ำพลาสติก (PET) อาจถูกนำมาผ่านกระบวนการมาตรฐาน แล้วนำกลับมาผลิตเป็นขวดน้ำดื่มอีกรอบ ดังนั้นหากขวดเคยสัมผัสสารคัดหลั่งที่สามารถก่อโรคให้เราได้...แค่คิดก็รู้สึกว่าอันตรายแล้วใช่ไหมล่ะ
เอาเป็นว่าถ้าจะทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ก็ควรทิ้งตามคำแนะนำ 7 ข้อข้างต้น และอย่าลืมล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสหน้ากากอนามัยและขยะทุกครั้งด้วยนะ เพื่อป้องกันการสัมผัสไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมอนามัย, เฟซบุ๊กกรมอนามัย, สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร, คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เฟซบุ๊ก พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes), เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand
ข่าวประชาสัมพันธ์
7 ขั้นตอนทิ้งหน้ากากอนามัย ใช้แล้วต้องทิ้งอย่างไร ไม่เสี่ยงติดเชื้อ
- วันที่ 27 ต.ค. 2565
- อ่าน 1,089 ครั้ง
หน้ากากอนามัยใช้แล้วถือเป็นขยะติดเชื้อชนิดหนึ่ง ดังนั้นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค เราควรทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี
เพราะหน้ากากอนามัยใช้แล้วอาจมีสารคัดหลั่งอย่างน้ำลาย น้ำมูก หรือเสมหะปนเปื้อนอยู่ ดังนั้นจึงถือเป็นขยะติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อโรค เช่น เชื้อก่อโรคโควิด 19 ให้คนที่สัมผัสหน้ากากอนามัยใช้แล้วได้ ดังนั้นเพื่อให้หน้ากากอนามัย ของเราไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น โดยเฉพาะพนักงานเก็บขยะที่เสี่ยงต่อโรค COVID 19 เราก็ควรเรียนรู้การทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
วิธีทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง
1. ล้างมือให้สะอาดก่อนถอดหน้ากากอนามัย
2. ใช้มือทั้งสองข้างจับที่สายรัด แล้วดึงหน้ากากอนามัย โดยดันออกไปด้านหน้าเป็นแนวตรง ไม่ใช้มือสัมผัสด้านหน้าของหน้ากากอนามัย
3. จับที่ขอบหน้ากากแล้วพับครึ่ง เก็บส่วนที่สัมผัสร่างกายให้อยู่ด้านใน
4. พับครึ่งอีก 2 ทบ ให้เชือกทั้ง 2 ฝั่งอยู่ด้านเดียวกัน แล้วใช้เชือกพันรอบหน้ากาก มัดให้แน่น
5. ใส่ถุงรองรับ (แยกจากขยะชิ้นอื่น) แล้วมัดปากถุงให้แน่น
6. ทิ้งหน้ากากอนามัยลงถังขยะที่มีฝาปิด
7. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือโดยทันที
ทั้งนี้สำหรับหน้ากากอนามัยของผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ เช่น คนที่ต้องกักตัวดูอาการ ควรทำการฆ่าเชื้อเบื้องต้นด้วยการราดน้ำยาฟอกขาว (โซเดียมไฮเปอร์คลอไรด์ 5%) ก่อนทิ้งหน้ากากอนามัยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น แล้วค่อยนำไปทิ้งในถังขยะติดเชื้อ (ถังสีแดง) หรือในกรณีที่ไม่มีถังแยกสำหรับขยะติดเชื้อ ให้ทิ้งรวมในถังขยะทั่วไป แต่เขียนบนถุงให้ชัดเจนว่า เป็นขยะติดเชื้อ หรือหน้ากากอนามัยใช้แล้ว
ทิ้งหน้ากากอนามัยใส่ขวดน้ำ ขอเตือนว่าอย่าทำ !
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes)
ตามสื่อโซเชียลมีเดีย มีการแนะนำให้ทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วลงในขวดน้ำพลาสติก ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัยเลย เพราะขวดน้ำพลาสติกเป็นขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ โดยนำขวดเปล่าไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล และหากจะนำขวดเปล่าไปรีไซเคิลก็ต้องดึงเอาขยะในขวดออกให้หมด โอกาสที่ทั้งคนเก็บของเก่า พนักงานเก็บขยะจะติดโควิด-19 จากหน้ากากอนามัยในขวดนั้นก็ง่ายขึ้น นอกจากนี้ขวดน้ำพลาสติก (PET) อาจถูกนำมาผ่านกระบวนการมาตรฐาน แล้วนำกลับมาผลิตเป็นขวดน้ำดื่มอีกรอบ ดังนั้นหากขวดเคยสัมผัสสารคัดหลั่งที่สามารถก่อโรคให้เราได้...แค่คิดก็รู้สึกว่าอันตรายแล้วใช่ไหมล่ะ
เอาเป็นว่าถ้าจะทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ก็ควรทิ้งตามคำแนะนำ 7 ข้อข้างต้น และอย่าลืมล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสหน้ากากอนามัยและขยะทุกครั้งด้วยนะ เพื่อป้องกันการสัมผัสไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมอนามัย, เฟซบุ๊กกรมอนามัย, สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร, คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เฟซบุ๊ก พลังงานจากขยะ (Energy from Wastes), เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand